ข่าวฟุตบอล

ข่าวบอลต่างประเทศ

ข่าวบอลพรีเมียร์ลีก

แฮนด์บอล กีฬาที่มีส่วนผสมของหลายกีฬาไว้

แฮนด์บอล ประวัติกีฬาแฮนด์บอล กติกา ทักษะการเล่น และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแฮนด์บอล

แฮนด์บอล เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่คนนิยมเล่นและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เนื่องจากแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่เล่นง่าย มีกติกาที่ไม่ซับซ้อนมาก แถมยังมีประวัติมาอย่างยาวนานอีกด้วย ทำให้แฮนด์บอลเป็นกีฬาสุดฮิตตั้งแต่ ในกีฬาสีของโรงเรียนไปจนระดับนานาชาติกันเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกีฬาแฮนด์บอลให้มากขึ้น แฮนด์บอลจะมีประวัติ กติกา ทักษะและความรู้ทั่วไปอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย แฮนด์บอล

ประวัติแฮนด์บอล

แฮนด์บอลมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยผู้คิดค้นริเริ่มนั้นเป็นคุณครูสอนพละ ชื่อว่า คอนราด คอค (Konrad Koch) ชาวเยอรมัน ช่วงเริ่มแรกแฮนด์บอลยังไม่เป็นที่นิยมมากนักต่อมาในปี 1904 แฮนด์บอลเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในยุโรปมากขึ้น ซึ่งในช่วงนั้นกีฬาแฮนด์บอลเริ่มมีการจัดตั้งกติกาที่แน่นอนมากขึ้น โดยมีการอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก แฮนด์บอลจึงเป็นกีฬาที่ถูกดัดแปลงมาจากกีฬาฟุตบอล ที่เปลี่ยนจากการเล่นด้วยเท้ามาเล่นด้วยมือแทน และเปลี่ยนจากเดิมที่ต้องใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน ก็มีการลดลงให้เหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากการที่มีผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปจะทำให้เล่นไม่สะดวก จากนั้นเป็นต้นมากีฬาแฮนด์บอลก็เริ่มมีการเล่นอย่างแพร่หลายมากขึ้น หาตัวแทน ต่อมาในปี1928 กีฬาแฮนด์บอลถูกนำไปเล่นในงานกีฬาโอลิมปิก และในปี 1931 แฮนด์บอลก็ถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติ ทำให้แฮนด์บอลเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1936 แฮนด์บอลก็ได้รับการบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก หลังจากนั้นทั่วโลกก็ประสบกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้แฮนด์ได้รับความนิยมน้อยลง ต่อมาในปี1956 กีฬาแฮนด์บอลก็ได้มีการแก้ไขกติกาใหม่ โดยมีการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอลและกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อทำให้กีฬาแฮนด์บอลกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง และแน่นอนว่า แฮนด์บอลก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยรูปแบบการเล่นที่น่าสนุก ตื่นเต้น และแปลกตา ทำให้ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่เลยทีเดียว

ประวัติกีฬาแฮนด์บอลในประเทศไทย

กีฬาแฮนด์บอลเข้ามาในประเทศไทยในปี 1939 หรือ พ.ศ. 2482 โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมพลศึกษาอยู่ในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นกีฬาแฮนด์บอลยังมีกติกาที่ต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คนอยู่  จึงทำให้ไม่สะดวกในการเล่นและยังไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก ต่อมาในปี1957 หรือพ.ศ. 2500 อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้นำกีฬาแฮนด์บอลเข้าบรรจุในการเรียนการสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย วิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ และในปี 1975 หรือ พ.ศ. 2518 กีฬาแฮนด์บอลก็เริ่มแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อมาในปี 1981 หรือ พ.ศ. 2524 กีฬาแฮนด์บอลในไทยก็เริ่มเอากติกาแบบสากลเข้ามาใช้และกลายเป็นที่นิยมในประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา แฮนด์บอล

กติกากีฬาแฮนด์บอล

1. สนามแข่ง

มีเส้นรอบสนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 40 เมตรกว้าง 20 เมตรมีเขตประตู โดยมีขนาดความกว้าง 3 เมตร และความสูง 2 เมตร ซึ่งตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งของสนาม มีพื้นที่รอบสนามห่างจากเส้นขอบสนามอย่างน้อย 1 เมตรและห่างจากหลังประตู 2 เมตร

2. ลูกบอล

ลูกบอลในกีฬาแฮนด์บอลมีรูปทรงกลมทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่มีพื้นผิวด้าน ไม่ลื่น และไม่สะท้อนแสง ในทีมชายขนาดลูกบอลต้องมีขนาดเส้นรอบวง 58-60 เซนติเมตร หนักประมาณ 425-475 กรัม และทีมหญิงขนาดลูกบอลต้องมีขนาดเส้นรอบวง 54-56 เซนติเมตร หนักประมาณ 325-400  กรัม และในการแข่งขันต้องมีลูกบอลสำหรับการแข่งขันทั้งหมด 2 ลูก และเมื่อการแข่งขันเริ่มต้นขึ้นแล้วจะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้ นอกจากว่าจะมีเหตุผลที่สมควรพอ 

3. ผู้เล่น

ในทีมหนึ่งต้องส่งตัวผู้เล่น 12 คน (รวมผู้เล่นสำรอง) และผู้เล่นจะลงสนามได้ 7 คน คือ ผู้เล่น 6 คนและผู้รักษาประตู 1 คน โดยสามารถเปลี่ยนตัวเข้าเล่นได้ทุกเวลา และสามารถเปลี่ยนตัวกลับเข้าในสนามใหม่ได้ โดยผู้เล่นจะต้องสวมเสื้อทีมที่ติดหมายเลข 1-20 ไว้ที่เสื้อ ซึ่งตัวเลขจะมีขนาด สูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตรกว้างอย่างน้อย 10 เซนติเมตร สีของตัวเลขต้องตัดกับเสื้ออย่างชัดเจน สวมใส่รองเท้ากีฬา และห้ามใส่เครื่องประดับทุกชนิด

วิธีการเล่น

–  ผู้เล่นใช้มือจับ ขว้าง โยน ลูกบอล เพื่อส่งต่อกันกับผู้เล่นในทีมตนเอง แล้วขว้างบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ได้คะแนน –  ห้ามใช้ร่างกายส่วนที่ต่ำกว่าหัวเข่าลงไปในการโดนลูกบอล –  ผู้เล่นสามารถถือลูกบอลไว้ในมือได้ไม่เกิน 3 วินาที จากนั้นต้องส่งหรือโยนต่อให้คนอื่น –  ขณะที่ผู้เล่นถือลูกบอลอยู่สามารถก้าวขาได้ไม่เกิน 3 ก้าวเท่านั้น –  ห้ามผู้เล่นดึงหรือแย่งลูกบอลมาจากมือของฝ่ายตรงข้าม –  ห้ามเข้าไปในเขตประตูของฝ่ายตรงข้าม –  ในการแข่งขันจะใช้เวลาในการแข่งขันครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที หากมีการต่อเวลาพิเศษจะเพิ่ม 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที

การคิดคะแนน

เมื่อผู้เล่นสามารถขว้างลูกบอลเข้าประตูฝั่งตรงข้ามได้จะคิดเป็น 1 คะแนนต่อ 1 ครั้ง และหากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีการขว้างลูกบอลเข้าประตูตนเองก็จะเสียคะแนนให้กับฝ่ายตรงข้าม เมื่อหมดเวลาใครทำประตูได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะไป แฮนด์บอล

ทักษะสำคัญในการเล่นแฮนด์บอล

  • การทรงตัว
ในการเล่นแฮนด์บอล ทักษะพื้นฐานที่สำคัญก็คือ การทรงตัว โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบได้แก่ ท่าการทรงตัว: ขณะยืนให้โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย งอเข่า ศีรษะตั้งตรง ตามองไปข้างหน้า เหยียดเเขนไปข้างหน้า งอศอกธรรมชาติ เเบมือและกางนิ้วออก โดยไม่ต้องเกร็ง แยกเท้าทั้งสองให้ห่างกันประมาณช่วงไหล่หนึ่ง เป็นท่าพร้อมที่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา การทรงตัวขณะเคลื่อนที่: เคลื่อนเท้าไปข้างหน้า เเล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งตามมาชิดในท่ายืนทรงตัวเมื่อต้องการเคลื่อนที่ ถ้าต้องการเคลื่อนที่ไปข้าง ๆให้ใช้เท้าที่ถนัดสืบเท้านำไปข้าง ๆ แล้วลากเท้าอีกข้างมาชิด การทรงตัวเมื่อต้องการหยุด: การหยุดแบบเท้าอยู่ข้างหน้า เป็นการใช้เท้าใดเท้าหนึ่งก้าวนำ งอเข่า ลำตัวเอนมาด้านหลังเล็กน้อย ย่อตัวให้ต่ำลงเล็กน้อย ศีรษะตั้งตรง ตามองไปข้างหน้า กางแขนเล็กน้อย ลงน้ำหนักเท้าหลังให้ยึดเเน่นกับพื้น และการหยุดเเบบเท้าคู่ (นิยมใช้ในทีมรับ) กระโดดเเล้วลงสองเท้าพร้อมกัน ให้เท้าห่างกันพอสมควร
  • การครอบครองลูก
ตามกติกาแล้ว ผู้เล่นสามารถถือลูกบอลอยาในมือได้ไม่เกิน 3 วินาที และขณะที่ถือบอลอยู่สามารถก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าว ซึ่งผู้เล่นสามารถจับหรือถือบอลได้ทั้งแบบใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้ และสามารถเปลี่ยนมือไปมาได้
  • การรับส่งลูก
เมื่อต้องการรับลูกที่มาต่ำ ให้เเบมือทั้งสองออก พร้อมกางนิ้วให้แยกออกจากกัน ไม่ต้องเกร็ง แล้วหงายฝ่ามือขึ้น หรืออีกวิธีให้ทำการคว่ำฝ่ามือหันหลังมือเข้าหาลำตัว นิ้วมือทั้งสองเกือบจรดกัน นิ้วห่างกันเล็กน้อย (คล้ายรูปชาม) เมื่อบอลกระทบมือใช้นิ้วทุกนิ้วรวมจับลูก อย่าให้ลูกกระทบอุ้งมือพร้อมทั้งดึงลูกเข้าหาลำตัว
  • การเลี้ยงลูก
การเลี้ยงลูกที่ใช้กันบ่อย ๆ มี 2 แบบได้แก่
  1. การเลี้ยงลูกต่ำ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลบหลีกคู่ต่อสู้
  2. การเลี้ยงลูกสูง มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้สามารถเลี้ยงลูกบอลไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว
  • การหมุนตัว
การหมุนตัวมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่
  1. การหมุนตัวอยู่กับที่ เป็นการหมุนตัวเพื่อป้องกันคู่ต่อสู้แย่งลูกบอลที่อยู่ในมือ
  2. การหลอกหมุนตัวกลับ เป็นการหมุนตัวเพื่อนำไปสู่การทำประตู
  • การทำประตู
การทำประตูสามารถทำได้หลายวิธี หลายแนวระดับ แต่มีหลักการทำประตูหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ
  1. การยืนยิงประตู
  2. การกระโดดยิงประตู
  • การป้องกันตัว
การป้องกันตัวมี 3 แบบ ได้แก่
  1. การป้องกันแบบตัวต่อตัว
  2. การป้องกันแบบทีม
  3. การป้องกันตามสถานการณ์ต่าง ๆ
ผลบอลข่าวบอลพรีเมียร์ลีก | ข่าวบอลไทย | ผลบอลสด | ผลบอลไทย https://ichalive.net/ ดูบอลสด